โยโกฮาม่าเป็นเมืองท่าเรือแห่งแรก ที่เปิดตัวเองสู่โลกในฐานะทางเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น และนับตั้งแต่การเปิดท่าเรือโยโกฮาม่าเป็นต้นมา เมืองแห่งนี้ก็ได้รับวัฒนธรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม โยโยฮาม่าไม่เพียงแต่เป็นผู้รับวัฒนธรรมมาจากประเทศต่างๆ เท่านั้น แต่ยังมักจะมีโอกาสได้แนะนำสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในญีปุ่น ให้กับโลกได้รับรู้ตลอดมาด้วยเช่นกัน นับตั้งแต่เรื่องอาหารไปจนถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งทำให้โยโกฮาม่าเป็นสถานที่กำเนิดของยุคใหม่ของญี่ปุ่น วัฒนธรรมโยโกฮาม่าที่เรียกว่า "ฮามาโกะ" ในภาษาญี่ปุ่นนั้น มีความหมายถึงการใช้ชีวิตอย่างร่าเริง
และยินดีที่จะยอมรับสิ่งที่ดีๆ อย่างเปิดกว้าง ในขณะที่ประเพณีที่อยู่ในวัฒนธรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังมาช้านานแล้วนั้น ต่างก็ได้รับการนำไปใช้ในการจัดผังเมือง และการสร้างเมืองที่ทันสมัยด้วยเช่นกัน
สถานที่น่าเยี่ยมชมของโยโกฮาม่า
สถานีโยโกฮาม่า
โรงแรมและห้างสรรพสินค้าหลายแห่งตั้งอยู่ในบริเวณนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณทางออกด้านตะวันตกของเมกะเทอร์มินัล ซึ่งเป็นสถานีที่มีรถไฟและรถไฟใต้ดินหลายสายมาเชื่อมต่อกัน โดยที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงร้านขายอาหาร และร้านเสื้อผ้าแบรนด์แฟชั่นยอดนิยมได้มากมาย
ดูสิ่งที่ไม่ควรพลาดชมในย่านสถานีโยโกฮาม่า
สวนยามาชิตะ, คังนาอิ
เป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยม และเป็นที่รักมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองโยโกฮาม่า ซึ่งคุณสามารถสัมผัสกับบรรยากาศที่โดดเด่น และประวัติศาสตร์ของเมืองท่าเรือแห่งนี้ได้ ที่นี่มีทั้งสถาปัตยกรรมโบราณ และสถาปัตยกรรมตะวันตกจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมโยโกฮาม่า นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารที่สืบทอดประเพณีอันยาวนาน รวมทั้งโรงแรมที่มีความโดดเด่น และมีความแปลกแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ด้วย
ดูสิ่งที่ไม่ควรพลาดชมในสวนยามาชิตะและย่านคังนาอิ
ไชน่าทาวน์แห่งโยโกฮาม่า
ท่ามกลางการเกิดขึ้นของไชน่าทาวน์จำนวนนับไม่ถ้วนทั่วทุกมุมโลก,ไชน่าทาวน์แห่งโยโกฮาม่าเป็นร้านอาหารจีนที่ใหญ่ที่สุด และยังมีร้านอาหารจีนอีกประมาณกว่า 500 แห่ง นอกจากนี้ยังมีร้านขายของชำของจีน และร้านค้าอื่นๆ ที่เคียงข้างกันบนถนนทั้งสองด้าน โดยที่ตลอดทั้งปีนั้น ถนนที่พลุกพล่านในย่านนี้จะมีสิ่งต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจเกิดขึ้นมากมาย
ดูสิ่งที่ไม่ควรพลาดชมในเขตไชน่าทาวน์
โมโตมาชิ, ยามาเตะ
การเป็นเมืองแห่งแบรนด์แฟชั่นท้องถิ่น ที่่มีทิศทางของตัวเองโมโตมาชินำเสนอเมืองโยโกฮาม่าเป็นเขตที่มุ่งเน้นแฟชั่น ในขณะที่พื้นที่เขตพักอาศัยของชาวตะวันตกยุคเก่าในย่านยามาเตะนั้น ถือเป็นถิ่นพำนักแรกๆ ที่ชาวตะวันตกเข้ามาตั้งรกราก และถือเป็นย่านที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง ที่ควรจะแวะไปเยี่ยมชม
ดูสิ่งที่ไม่ควรพลาดชมในโมโตมาชิและยามาเตะ
ฮอนโมกุ, เนกิชิ
ถึงแม้ว่าการปรับปรุงเมืองจะทำให้ภูมิทัศน์เปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่ที่นี่คุณยังคงรู้สึกได้ ถึงบรรยากาศแบบอเมริกัน ในเขตที่ครั้งหนึ่งเคยถูกยึดครองโดยฐานทัพสหรัฐอเมริกา การเยี่ยมชมซังโคเอ็นนอกจากนี้ยังมีสวนญี่ปุ่น ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่ล้วนแต่มีประวัติศาสตร์ ซึ่งคุณสามารถเพลิดเพลินไปกับการเปลี่ยนแปลงของทัศนยภาพอันแตกต่างในแต่ละฤดูกาลได้
ดูสิ่งที่ไม่ควรพลาดชมในฮอนโมกุและเนกิชิ
ประวัติศาสตร์ของโยโกฮาม่า
ก่อนเปิดท่าเรือ
ตามเอกสารแล้ว โยโกฮาม่ามีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปถึงศตวรรษที่ 11 ซึ่งกล่าวกันว่าครอบครัวคังมุ เฮอิชิ ก็มีต้นกำเนิดมาจากโยโกฮาม่านี่เอง โยโกฮาม่าถูกปกครองโดยลูกหลานของโยชิบุมิ ทาอิระ และการปกครองดังกล่าวก็สืบทอดกันมาจนถึงศตวรรษที่ 16 เลยทีเดียว
ในศตวรรษที่ 12 ยุคคามาคุระโยโกฮาม่ามีการพัฒนาเป็นอย่างมาก ซึ่งวิหาร Shomyoji และ Kanazawa Bunko ได้ถูกสร้างขึ้นในเขต Kanazawa โดย Hojo ในเวลาเดียวกันนั้น ในเขต Kozukue การเพาะปลูกข้าวอย่างจริงจังได้ถือกำเนิดขึ้นโดย Yasutsuna Sasaki
ในช่วงยุคเอโดะ โยโกฮาม่าส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลศักดินา ยกเว้นตระกูลมัตสุระในคานาซาวะ ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้านายศักดินาโดยตรง
ในปี 1601 คานากาวะและโฮโดกายะ ได้กลายเป็นที่ทำการไปรษณีย์ ตามมาด้วยโตทซูกะในปี 1604 และในต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อพลเมืองเพิ่มมากขึ้น คานากาวะได้เปลี่ยนสถานะเป็นเมืองที่มีความสำคัญ ซึ่งเรียกว่าโอดาวาระ (เมืองแห่งปราสาท)
การเปิดท่าเรือ
ในปี ค.ศ. 1854 (Ansei 1) สนธิสัญญาสันติภาพและความปรองดองระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา (สนธิสัญญาคานากาวะ) ได้ลงนามโดย Hayashi Daigaku จากญี่ปุ่น และ Mr. Commodore Perry จากสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1858 (Ansei 5) สนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ของญี่ปุ่น - สหรัฐฯได้ลงนามโดยกงสุลใหญ่แฮร์ริสตามสนธิสัญญากับฮอลแลนด์ รัสเซีย สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส โดยการเปิดท่าเรืออย่างเป็นทางการได้มีการกำหนดเอาไว้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 1859 (2 มิถุนายนในปี Ansei 6 ตามปฏิทินจันทรคติ)
รัฐบาลศักดินาได้จัดตั้งโซนถิ่นที่อยู่สำหรับชาวต่างประเทศขึ้นในปีนี้ เช่นเดียวกับเขตถิ่นที่อยู่ของชาวญี่ปุ่นด้วย เขตปกครองของญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็น 5 เขต เรียกว่าโยโกฮาม่า-โช ซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐบุรุษอาวุโสของรัฐบาลโชกุนาเตะ (โซโตชิโยชิ) และแต่ละเขตปกครองถูกควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (นานุชิ)
การริเริ่มงานปกครองเทศบาล
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 ฝ่ายปกครองเทศบาลได้รับการก่อตั้งขึ้น โดยพื้นที่ภายใต้การควบคุมได้จำกัดอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งก็คือ Naka-ku ในปัจจุบัน ซึ่งไม่รวม Honmoku และ Negishi เอาไว้ด้วยแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ประชากรในเขตดังกล่าวนั้นมีถึง 121,985 คน และมีบ้านเรือนกว่า 27,209 หลัง
เมืองการค้าสมัยใหม่
หลังจากการเปิดท่าเรือแล้ว ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมดิบ ชา และอาหารทะเล ได้ถูกส่งออกจากเมืองโยโกฮาม่า และมีการนำเข้าผ้าไหมและขนสัตว์ โดยพ่อค้าในเมืองโยโกฮาม่าได้จัดตั้งบริษัทค้าผ้าไหมขึ้นในปี 1873 และในปี 1881 ได้มีการจัดตั้งโรงงานทอผ้าไหมขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดผ้าไหมในประเทศ ในช่วงเริ่มต้นของยุคของเมจิ 20 หรือปี 1887 ได้มีการก่อตั้งสำนักบริการทางน้ำของเทศบาลเมืองขึ้น ในขณะที่บริษัทโยโกฮาม่า พับลิก อิเล็กทรอนิกส์นั้น ถือว่าเป็นบริษัที่จุดประกายให้กับเมืองในปี 1890 และต่อมาในปี 1891 โรงพยาบาลจูเซนได้รับการก่อตั้งขึ้น ตามมาด้วยบริษัทแก๊ส และบริษัทหนังสือพิมพ์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายบริหารเมือง ก็ได้รับการจัดตั้งในปีต่อมา ซึ่งทั้งหมดได้รวมกันเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเมืองไปในที่สุด
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่คังโต
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เขตคังโต เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1923 ได้ทำลายโยโกฮาม่าลงไปอย่างสิ้นเชิง และทำให้โยโกฮาม่ากลายเป็นทะเลแห่งเปลวเพลิง แผ่นดินไหวครั้งนี้ทิ้งผู้เสียชีวิตเอาไว้ถึง 20,000 คน และทำลายบ้านเรือนไปกว่า 60,000 หลัง ซึ่งทำให้โยโกฮาม่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความเข้มแข็ง และความพยายามของพลเมืองนั่นเอง โยโกฮาม่าจึงได้ฟื้นตัวขึ้นโดยสมบูรณ์ในปี 1929 (โชวะ 4)
การริเริ่ม Ward System
การขยายตัวสองครั้งแรกของเขตควบคุมของเทศบาลเกิดขึ้นในปี 1901 (เมจิ 34) และ 1902 (เมจิ 44) และครั้งที่สามเกิดขึ้นในปี 1927 (โชวะ 2) ซึ่งได้รวมเอา Tsurumi และ Hodogaya-cho เข้ามา ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกันนี้ ระบบวอร์ดได้รับการแนะนำให้นำมาใช้ ซึ่งทำให้โยโกฮาม่าถูกแบ่งออกเป็นห้าเขต ซึ่งได้แก่ Naka-ku, Isogo-ku, Kanagawa-ku, Hodogaya-ku และ Tsurumi-ku ในปี 1936 (โชวะ 11) การขยายเขตปกครองครั้งที่ 4 ได้เกิดขึ้น และการขยายตัวครั้งที่ 5 เกิดขึ้นในปีถัดไป ในปี 1939 (โชวะ 14) การขยายตัวครั้งที่ 6 ได้เกิดขึ้น ซึ่งรวมเอา Kohoku และ Totsuka เข้ามา และภายหลังจากการขยายตัวอีกสามครั้ง ทั้ง Minami, Nishi และ Kanazawa ก็ได้ถูกรวมเข้ามาไว้ด้วยกัน ทำให้ทั้งหมดมี 10 เขต ต่อมาในปี 1969 (โชวะ 44) เขต Konan, Asahi, Midori และ Seya ได้ถูกรวมเข้ามาเพิ่มเติมอีก จนทำให้โยโกฮาม่ามีเขตปกครองเพิ่มขึ้นเป็น 14 เขต ในปี 1985 (โชวะ 61) เขต Sakae และ Izumi ได้ถูกเพิ่มเข้ามา จนกลายเป็น 16 เขต ในครั้งหลังสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1994 (Heisei 6) เขต Aoba-ku และ Tsuzuki-ku ได้ถูกรวมเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งทำให้โยโกฮาม่ามีเขตปกครองทั้งหมด 18 เขตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
จากเมืองการค้าพาณิชย์ไปสู่เมืองอุตสาหกรรม
ปากแม่น้ำ Tsurumi ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังตามโครงการพัฒนาในปี 1931 (Showa 6) และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ส่วนที่ใกล้ชายฝั่งได้กลายเป็นเขตอุตสาหกรรม Keihin ซึ่งตั้งแต่การเปิดท่าเรือเป็นต้นมา โยโกฮาม่าได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองการค้าและเขตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเคมีที่มีการใช้เครื่องจักรหนัก และเทคโนโลยีระดับสูง
การทิ้งระเบิดในโยโกฮาม่า
ในปี 1945 (โชวะ 20) การทิ้งระเบิดในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมืองโยโกฮาม่าทั้งเมืองถูกไฟไหม้โดยระเบิดลูกแล้วลูกเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการโจมตีทางอากาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 14,157 ราย และบ้านเรือนกว่า 79,017 หลังถูกทำลาย โดยที่กว่า 42 เปอร์เซ็นต์ของเมืองถูกเผาจนกลายเป็นเถ้าถ่าน
ความล่าช้าในการฟื้นฟูหลังสงคราม
หลังจากความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945 ร้อยละ 90 ของท่าเรือ และกว่า 27 เปอร์เซ็นต์ของเมือง ได้ถูกครอบครองโดยกองกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร และเนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการชดเชยจากการแพ้สงครามนั่นเอง การพัฒนาเมืองในช่วงต่อมาจึงค่อนข้างล่าช้าเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในปี 1951 (โชวะ 26) ญี่ปุ่นได้รับเอกราชหลังจากการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 1951 ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อการบริหารงานของโยโกฮาม่าได้ถูกถ่ายโอนจากรัฐบาลกลางไปยังเทศบาลเมือง นอกจากนี้ในปี 1952 (โชวะ 27) ความพยายามของชาวเมืองได้ประสบผลสำเร็จ เมื่อท่าเรือโอซังบาชิได้รับการปลดแอกจากการชดเชยค่าปฏิกรรมสงคราม และกลับมาอยู่ใต้อาณัติของญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์อีกครั้ง